KM คืออะไร

Stair (2001, 202) กล่าวว่า การบริหารจัดการความรู้ เป็นกระบวนการ รวบรวม จัดการ ความรู้ ความชํานาญไม่ว่าความรู้นั้นจะอยู่ในคอมพิวเตอร์ ในกระดาษหรือตัวบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการให้บุคลากรได้รับความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิม โดยให้เกิดประสบการณ์และความชํานาญเพิ่มขึ้น


Tiwana (2000, 5) ให้ความหมายการบริหารจัดการความรู้ว่า หมายถึง การจัดการความรู้ในองค์กร สําหรับงานด้านธุรกิจ


Laudon (2000, 435) กล่าวถึง Knowledge Management ว่าการบริหารจัดการความรู้ในองค์การมีความสำคัญเป็นพิเศษในองค์การที่มีลักษณะการบริหารงานแบบแบนราบ และแบบเครือข่าย ซึ่งในการจัดการระดับต่าง ๆ จะมีการจัดการแยกแยะความจริงในส่วนที่จะสามารถนำมาช่วยสมาชิกในทีมในการพัฒนางานในหน้าที่ รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูล เพื่อพัฒนางานในส่วนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย


วีรวุธ มาฆะศิรานนท์ (2542, 77-78) กล่าวถึง การบริหารจัดการความรู้เป็นกระบวนการบริหารรูปแบบใหม่ที่เน้นในด้านการสพัฒนากระบวนการ ควบคู่ไปกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยทุกระบวนงานจะต้องสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นผลมาจากการขยายวง และการประสานความรู้ รวมถึงการฉลาดคิดไปตลอดทั่วทั้งองค์กร อยู่ตลอดเวลาซึ่งเท่ากับว่า องค์กรที่มีการบริหารจัดการความรู้นี้อย่างเป็นระบบ ก็จะเกิดเป็นโอกาสอันสำคัญต่อการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่เปี่ยมไปด้วยการทำงานอย่างฉลาดคิดและสร้างสรรค์ในที่สุด ทำให้องค์การนั้นสามารถเผชิญกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ รูปแบบและสามารถฟันฝ่าอุปสรรคทั้งมวลได้เป็นอย่างดี


ศรันย์ ชูเกียรติ (2541, 14) การจัดองค์ความรู้ในองค์กร หมายถึง การจัดการและรักษาระดับในการจัดเก็บองค์ความรู้ในองค์กรให้เป็นระบบ เป็นระเบียบ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ


สรุป การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management คือ การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในองค์กรมาจัดระบบ และ พัฒนาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ โดยจัดช่องทางการเข้าถึงความรู้ให้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงเพื่อให้บุคลากรนำความรู้ ไปพัฒนาการ ปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เรื่องของการจัดการความรู้ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ถ้าผู้บริหารสูงสุดขององค์กรให้ความสำคัญก็สามารถรับประกัน ความสำเร็จได้ 100%