สรุปขุมความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็น : การบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและงานวิจัย เมื่อ 23-24 เม.ย. 2557

วันเสาร์ ที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ.2557 เวลา 10:32:22

สรุปขุมความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็น : การบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและงานวิจัย

          จากการดำเนินการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น การบูรณางานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งในที่ประชุมได้เสนอหัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การวางแผนและการจัดระบบการบูรณางานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย ทำให้ได้แนวทางในการดำเนินโครงการที่มีการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย ในบริบทของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

กระบวนการบริการทางวิชาการ สรุปการดำเนินการ ได้ดังนี้

1.  การสำรวจความต้องการของชุมชนหรือศึกษาความต่อเนื่องของโครงการเดิม

           ในการบริการทางวิชาการนั้นจำเป็นต้องเริ่มจากการสำรวจความต้องการของชุมชน รวมทั้งหนังสือขอรับบริการวิชาการจากหน่วยงานหรือชุมชน หรือความต้องการของชุมชน เพื่อกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ และ เสริมสร้างความเข้มแข็ง  เพื่อนำไปจัดทำเป็นโครงการ โดยกำหนดตัวบ่งชี้ ความสำเร็จและเป้าหมายร่วมกับชุมชน  โดยจัดส่งแบบสำรวจข้อมูลความต้องการรับบริการวิชาการของชุมชนไปยังชุมชนเป้าหมาย ตามแบบฟอร์มสำรวจข้อมูลความต้องการของชุมชนด้านวิทยาศาสตร์ของชุมชน ดังเอกสารในบทที่ 3 หน้าที่ 8

2.  จัดทำแผนบริการทางวิชาการ และเสนอแผนบริการทางวิชาการตามลำดับขั้นตอน

           ในขั้นตอนนี้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำเสนอแผนบริการทางวิชาการแก่ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตามลำดับขั้นตอน คือ เสนอต่อกรรมการบริหารคณะเพื่อให้ข้อเสนอแนะ  และประจำคณะ เมื่อผ่านความเห็นชอบจากกรรมการประจำคณะเรียบร้อยแล้ว คณะฯ นำเสนอแผนบริการทางวิชาการแก่กองนโยบายและแผนเพื่อนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่พิจารณาอนุมัติ ตามลำดับ  ในขั้นตอนนี้ควรสรุปประเด็นการวางแผนบริการทางวิชาการเป็นรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะและกรรมการประจำคณะ

3.  แจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้รับผิดชอบโครงการ

           เมื่อโครงการผ่านการพิจารณาอนุมัติโครงการมาให้ ทางกองนโยบายและแผนจะแจ้งผลการพิจารณามายังคณะ แล้วคณะก็จะแจ้งไปยังผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อทราบ และดำเนินการต่อไป

           ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้ ต้องแจ้งมายังคณะฯ เพี่อดำเนินการแจ้งการปรับแผนการดำเนินการไปยังกองนโยบายและแผน และเสนอให้มหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติ

4.  จัดทำและขออนุมัติโครงการ

           เมื่อแผนบริการทางวิชาการได้รับการอนุมัติแล้ว ผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ  โดยจัดทำและขออนุมัติโครงการโดยใช้แบบเสนอโครงการบริการทางวิชาการ  ดังเอกสาร ในบทที่ 3 หน้าที่ 13  และดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณตามขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัย

5.  การดำเนินการบริการทางวิชาการแก่ชุมชน

           ในการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่ชุมชน  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ  ขั้นดำเนินการ  และขั้นหลังดำเนินโครงการ

           5.1  ขั้นเตรียมการ  มีการดำเนินการ ดังนี้

                   1.  จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ดังตัวอย่างเอกสารคำสั่งในภาคผนวก หน้าที่ ภ1

                   2.  ขอยืมเงินทดรองจ่าย

                   3.  จัดทำหนังสือเชิญวิทยากร (กรณีมีวิทยากรจากภายนอกมาร่วมเป็นวิทยากรกับวิทยากรหลักของคณะฯ) ดังเอกสารตัวอย่างในภาคผนวก  หน้าที่ ภ3

                   4.  ขออนุญาตใช้ยานพาหนะ (ถ้ามี) ดังเอกสารตัวอย่างในภาคผนวก  หน้าที่ ภ5

                   5.  ขออนุญาตใช้สถานที่ ดังเอกสารตัวอย่างในภาคผนวก หน้าที่ ภ6

                   6.  ขออนุญาตพานักศึกษาออกนอกสถานที่(ถ้ามี)

                   7.  ขอจัดซื้อจัดจ้าง ดำเนินการโดยระบบการเบิกจ่าย 3 มิติ

                   8.  ขออนุมัติเบิกจ่าย ดำเนินการโดยระบบการเบิกจ่าย 3 มิติ

           5.2  ระหว่างดำเนินโครงการ มีการดำเนินการ ดังนี้

                   1.  ประเมินความรู้เบื้องต้นของผู้รับบริการ เพื่อปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (ถ้ามี) เช่น ใช้แบบทดสอบก่อนหลัง (ดังเอกสารตัวอย่างในภาคผนวก  หน้าที่ ภ7) เพื่อวัดความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย

                   2.  ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนการดำเนินโครงการที่กำหนดไว้

                   3.  ถอดบทเรียนระหว่างดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นการสรุปความรู้ความเข้าใจของผู้รับบริการหลังปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ

           5.3  หลังดำเนินโครงการ มีการดำเนินการ ดังนี้

                   1.  รวบรวมผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ จำนวนผู้เข้าร่วม ความรู้ความเข้าใจ  ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมและนักศึกษาโดยใช้แบบประเมินโครงการ/กิจกรรม ในบทที่ 3  หน้าที่ 17

                   2.  ทำหนังสือขอบคุณวิทยากร (ถ้ามี)

                   3.  รวบรวมเอกสารการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ (ภายใน 30 วัน หลังจากขอยืมเงินทดรองจ่าย)

                   4.  การสรุปผลการดำเนินโครงการ หลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินการโครงการที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ขึ้น

6.  ติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

          ในการติดตามผลการนำความรู้ที่ได้ให้บริการทางวิชาการไปใช้ประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมาย  ควรทำการติดตามหลังสิ้นสุดโครงการภายใน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน  โดยทำการจัดส่งแบบประเมินประโยชน์และผลกระทบที่เกิดประโยชน์หรือสร้างคุณค่าต่อองค์กร สังคม ชุมชน ของการจัดโครงการบริการวิชาการ ดังเอกสาร ในบทที่ 3 หน้าที่ 21

7.  จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการ

           เมื่อดำเนินโครงการบริการวิชาการแล้วเสร็จ  ผู้รับผิดชอบโครงการสรุป  ประเมินความสำเร็จของการให้บริการตามตัวชี้วัดที่ผู้รับผิดชอบโครงการกำหนดไว้  ซึ่งจะต้องมีการประเมินให้เห็นถึงผลความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน  หรือการวิจัย  และจัดทำสรุปผลโครงการในรูปเล่มรายงานเพื่อเป็นหลักฐาน (ดังเอกสาร ในบทที่ 3 หน้าที่ 23) โดยจัดส่งเล่มรายงานผลให้คณะ จำนวน 1 ชุด

8.  นำผลการประเมินไปปรับปรุง

           นำผลการประเมินโครงการไปปรับปรุง เช่น ปรับปรุงหลักสูตร / กิจกรรม / งบประมาณ / คณะดำเนินงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพของการให้บริการ พัฒนาแผน  พัฒนากระบวนการ  โดยผ่านกระบวนการประชุมคณะกรรมการงานวิจัยและบริการวิชาการ

9.  นำความรู้จากการบริการวิชาการไปบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย

           ในการนำความรู้ ประสบการณ์จากการบริการทางวิชาการไปบูรณาการกับการเรียนการสอนหรือการวิจัยนั้น สามารถทำในแนวทางต่อไปนี้

           1.  พัฒนาเป็นหัวข้อวิจัย / โจทย์วิจัย เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์จากการบริการทางวิชาการมาต่อยอดไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่  ผ่านกระบวนการวิจัย

           2.  จัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้นจากการดำเนินการวิจัย

           3.  จัดทำ มคอ. 3 ซึ่งมีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน เช่น กำหนดให้นักศึกษานำความรู้ไปจัดทำเป็นโครงการ หรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยระบุชื่อโครงการบริการวิชาการ ดังเอกสารตัวอย่างในภาคผนวก หน้าที่ ภ9

           4.  จัดทำ มคอ.5 โดยการรายงานผลการจัดการเรียนการสอนตาม มคอ.3

10.  เผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

           คณะฯ มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการ โดยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในหน่วยงาน เผยแพร่ทาง website และจดหมายข่าวของคณะ โดยจดหมายข่าวออกเป็นรายเดือน  กล่าวโดยสรุปคณะได้พัฒนากระบวนการบริการทางวิชาการ โดยวางแนวทางและขั้นตอน และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มีการบริการทางวิชาการ  เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  ท้องถิ่น และเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม