การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) วันที่ 18 มีนาคม 2556

วันพุธ ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ.2556 เวลา 15:21:11

กระบวนการจัดการความรู้  ดำเนินการดังนี้

แบ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็น  2  กลุ่ม  แต่ละกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในเรื่องการจัดทำรายงานผลรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5)  ได้ข้อสรุปจากทั้งสองกลุ่มดังนี้

1. การตีความตามหัวข้อในแบบฟอร์มรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) ที่ยังมีความไม่ชัดเจน  กล่าวคือ

1.1 การรายงานรายวิชาที่มีหลาย Section ควรให้กรอกข้อมูล Section เดียว หรือหลาย Section

ในรายงานฉบับเดียว  หากพิจารณาตามแบบฟอร์มแล้วควรรายงานแยกตาม Section  แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยโดยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้จัดเตรียมข้อมูลไว้ให้แบบรวมทุก Section  จึงมีข้อสรุปว่าให้รายงานรวมทุก Section  แต่ปัญหาคือ  กรณีมีผู้สอนหลายคนจะรายงานผลการประเมินผู้สอนไม่ได้

1.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบ (อาจารย์ประจำ)  อาจารย์ผู้สอน (อาจารย์พิเศษ)  ระบุยากแต่ประเมินเป็นภาคเรียนไม่มีปัญหา

1.3 การรายงานชั่วโมงการสอน  ส่วนใหญ่รายงานว่าตรงตามแผนไม่มีปัญหา (ถ้าไม่ตรงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง) คำว่าไม่เกิน  25%  (อาจารย์/นักศึกษา  หายไป 3 สัปดาห์  ข้อเสนอแนะ  การคิด  25%  เทียบตามจำนวนชั่วโมงที่สอน  ผลต่างระหว่างของ 2 และ 3 แล้วนำมาคิดเปอร์เซ็นต์  (ผลต่าง x 100)

1.4 การประเมินประสิทธิผล เกณฑ์ในการวัด  เกรด  การสัมภาษณ์  สังเกตพฤติกรรมความเหมือน / แตกต่างของผลการเรียนรู้

- ความรู้

- ทักษะทางปัญญา

1.5 ในที่หมวดที่ 6  ข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง

-  ไม่มีการดำเนินการ

1.6  การประเมินรายวิชาโดยนักศึกษา

- นักศึกษาที่ไม่สิทธิสอบ  อาจารย์ส่งรายชื่อไปแล้ว  ยังมีสิทธิ์ประเมินอาจารย์ผู้สอน (ควรจะแก้ไข)

- การแก้ไข มคอ.3  หัวข้อประเมินผลการเรียนรู้  วิธีการสอนที่ระบุโดยผู้สอนน่าจะทำได้ / ไม่ได้

2.จากปัญหาข้อที่ 1  ส่งผลให้จัดทำรายงานไม่สมบูรณ์และกระทบกับการส่งรายงานไปยังคณะ  ประกอบกับในการส่งรายงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอาจไม่ได้ตรวจสอบเนื้อหาอย่างละเอียด  ทำให้การจัดทำรายงานไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ แนวทางแก้ไข คือ การเขียน   มคอ.5  ควรต้องดูเกณฑ์การประกันคุณภาพและหาข้อตกลง เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกันในการเขียนรายงาน

สรุปประเด็นการดำเนินงานการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา (มคอ.5)

1. รายงานผลการดำเนินการของรายวิชาต้องเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอน จาก มคอ.3

2. ควรรายงานผลหลังจากมีการตัดเกรดเรียบร้อยแล้วภายใน 30 วัน

3. ถ้าผู้สอนเป็นบุคลากรจากภายนอก  ผู้ประสานงานรายวิชาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ มคอ.5

4. หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป

4.1 ถ้ารายวิชาใดมีผู้สอนหลายคน  จะต้องแยกทำ มคอ.5 รายคน  แล้วนำมารวมให้ผู้ประสานงานรายวิชา

5. หมวดที่ 2  การจัดการเรียนการสอนที่เปรียบเทียบกับแผนการสอน

5.1 รายงานชั่วโมงการสอนเทียบกับแผนการสอน นำข้อมูลมาจาก มคอ.3  หมวดที่ 3  ข้อ 2 (จำนวนชั่วโมงต่อภาคการศึกษา)

5.2 หากจำนวนชั่วโมงสอนแตกต่างกับ มคอ.3  หมวดที่ 3  ข้อ 2  (จำนวนชั่วโมงต่อภาคการศึกษา)  ให้ใส่เหตุผลประกอบตามความเป็นจริง

5.3 หัวข้อสอนที่ไม่ครอบคลุมตามแผน  ให้รายงานตามความเป็นจริง

5.4 ประสิทธิผลของวิธีสอนที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้ตามที่ระบุในรายละเอียดของรายวิชา ให้รายงานตามความเป็นจริง  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง

6. หมวดที่ 4  ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ  ให้รายงานตามความเป็นจริง  ซึ่งแต่ละภาคเรียนจะไม่เหมือนกัน

7. หมวดที่ 6  แผนการปรับปรุง  โดยปรับปรุงทุกภาคเรียน